ทั้งหมด 20 รายการ

หิรัญบัตร

เลขที่วัตถุ : 43/2547

เลขลำดับ : 43

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : แผ่นเงินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จำนวน 4 แผ่น บนแผ่นเงินมีการจารอักษรภาษาไทย ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีรูเจาะตรงกลางสำหรับร้อยเชือกคล้ายคัมภีร์ใบลาน หิรัญบัตรแผ่นที่ 1 จารึกนามศาลสถิตยยุติธรรม แผ่นที่ 2,3และ4 จารึกวัน เดือน ปี ที่เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาก่อพระฤกษ์ และเรื่องที่ทรงพระราชดำริห์ในการสร้างศาลหลวง

สภาพ : ดี

ชนิด : เงิน

ขนาด : ก.9.5 x ย.37.2 ซม.

ประวัติ :

หิรัญบัตรเป็นแผ่นเงินที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจารข้อความลงบนแผ่นเงิน จำนวน 4 แผ่น เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทรงวางศิลาก่อพระฤกษ์อาคารศาล และพระราชทานนามอาคารหลังนี้ว่า "ศาลสถิตยยติธรรม " เมื่อวันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2425

สถานที่เก็บ : ห้องจัดแสดง

วันที่บันทึก : 14/02/2566

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :
เอกสารแนบ :

กฎหมายตราสามดวง (พระไอยการลักษณโจร,พระธรรมสาตร, พิสูทดำน้ำ ลุยเพลิง,กฎมณเฑียรบาล)

เลขที่วัตถุ : 4-8/2547

เลขลำดับ : 4-8

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : สมุดไทยขาว ทำจากกระดาษข่อย ปกหน้า-หลัง ลงรักสีดำ เขียนข้อความหน้าปกด้วยด้ายเส้นทอง ภายในตัวเล่มเป็นกระดาษสีขาว บันทึกด้วยหมึกสีดำ มีตราประทับ 3 ดวงด้านปกใน มีตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ ตราบัวแก้ว

สภาพ : พอใช้

ชนิด : กระดาษ

ขนาด : ก.15 x ย.60 ซม.

ประวัติ :

ได้รับมอบจากสำนักวิชาการ สำนักงานศาลยุติธรรมซึ่งเป็นต้นฉบับที่เก้บรักษามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ทรงโปรดให้มีการตรวจชำระกฎหมายขึ้น เป็นฉบับที่ศาลหลวงได้เก้บรักษาไว้

สถานที่เก็บ : ห้องจัดแสดง

วันที่บันทึก : 15/11/2565

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :
เอกสารแนบ :

หยิกเล็บหมายมือ

เลขที่วัตถุ : 26/2547

เลขลำดับ : 26

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : เป็นสมุดไทยดำที่มีการบันทึกคำฟ้อง ด้านบนมีเชือกผูกตรงสำนวนและใช้ดินเหนียวผนึกตรงเงื่อนที่ผูก มีรอยเล็บกดลงบนดินเหนียว

สภาพ : พอใช้

ชนิด : กระดาษ

ขนาด : ก.15 x ย.60 ซม.

ประวัติ :

หยิกเล็บหมายมือได้รับมอบจากสำนักวิชาการ สำนักงานศาลยุติธรรม หยิกเล็บหมายมือเป็นสำนวนคำฟ้องที่ได้บันทึกไว้ เมื่อเสร็จขั้นตอนแล้วจะคัดคำให้การของจำเลยรวมไว้กับคำฟ้องของโจทก์ในสมุดไทย แล้วผูกสมุดคำฟ้องและคำให้การโดยให้โจทก์และจำเลยหยิกเล็บหมายมือไว้ เพื่อเป็นหลักฐาน โดยให้โจทก์ให้เชือก จำเลยให้ดินเหนียว เวลาจะหยิก ให้โจทก์หยิกเล็บหมายมือก่อนแล้วจำเลยหยิกตาม ถ้าจำเลยหยิกก่อนจะถูกปรับ 6400 เบี้ย
 

สถานที่เก็บ : ห้องจัดแสดง

วันที่บันทึก : 15/11/2565

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :

สมุดไทยดำ

เลขที่วัตถุ : 27/2547

เลขลำดับ : 27

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : เป็นสมุดไทยดำสี่เหลี่ยมผืนผ้า สมุดไทยที่ทำขึ้นจากกระดาษข่อย มีการบันทึกด้วยเส้นดินสอสีขาว

สภาพ : ดี

ชนิด : กระดาษ

ขนาด : ก.13 x ย.65 ซม.

ประวัติ :

ได้รับมอบสมุดไทยดำจากสำนักวิชาการ สำนักงานศาลยุติธรรม

สถานที่เก็บ : ห้องจัดแสดง

วันที่บันทึก : 15/11/2565

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :

ราชกิจจานุเบกษา เล่มแรก

เลขที่วัตถุ : 100/2547

เลขลำดับ : 100

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : เป็นสิ่งพิมพ์รัฐบาลจัดพิมพ์ในรูปแบบหนังสือ

สภาพ : ดี

ชนิด : กระดาษ

ขนาด : ก.17 x ย.25 ซม.

ประวัติ :

 ราชกิจจานุเบกษาจัดพิมพ์ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงประกาศข่าวที่ลงตีพิมพ์ และพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เอง เช่น การแต่งตั้งข้าราชการตามหัวเมือง รายงานดินฟ้าอากาศ การเกิดจันทรุปราคา ฯลฯ อย่างไรก็ตาม มีการดำเนินการพิมพ์เพียง 1 ปี คือ พ.ศ.2401-2402 ต่อมารัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริให้พิมพ์ราชกิจจานุเบกษาอีกครั้ง ‘เมื่อวันอาทิตย์ เดือนเจ็ด ขึ้น 2 ค่ำ ปีจอ ฉศก จุลศักราช 1236’ ตรงกับ 17 พฤษภาคม 2417

สถานที่เก็บ : ห้องจัดแสดง

วันที่บันทึก : 15/11/2565

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :

ตราดุลพาทน้อย ตราดุลพาทใหญ่

เลขที่วัตถุ : 47-48 /2547

เลขลำดับ : 47-48

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : ตราดุลพาทน้อย เป็นตราประทับรูปวงกลม ลายพระแสงขรรค์กับรูปดุล ทำจากงาช้างทั้งองค์ สามารถถอดได้เป็น 2ส่วน คือ ส่วนที่เป็นด้ามและส่วนที่เป็นตราประทับ ตราดุลพาทใหญ่ เป็นตราประทับรูปวงกลม ลายพระแสงขรรค์กับรูปดุลปะดิษฐานอยู่เหนือพาน 2 ชั้น ทำจากงาช้างทั้งองค์ สามารถถอดได้เป็น 2ส่วน คือ ส่วนที่เป็นด้ามและส่วนที่เป็นตราประทับ

สภาพ : ดี

ชนิด : งาช้าง

ขนาด : ตราดุลพาทน้อย ก 5.5 x ส10 x เส้นรอบวง 18.1 ซม ตราดุลพาทใหญ่ ก 6.5 x ส11 x เส้นรอบวง 21.7 ซม

ประวัติ :

ได้รับพระราชทานในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2456 สำหรับประทับบนเอกสารราชการ

สถานที่เก็บ : ห้องพิพิธภัณฑ์

วันที่บันทึก : 11/01/2566

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :

ฉลากงา

เลขที่วัตถุ : 11/2547

เลขลำดับ : 11

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : งาช้างแกะสลักลายที่ด้านปลาย ส่วนตัวด้ามงาช้างมีการจารข้อความตามลักษณะชื่อกฎหมายด้วยหมึกสีดำ

สภาพ : ดี

ชนิด : งาช้าง

ขนาด : ก 2.2 X ย. 15 x ส. 0.6 ซม.

ประวัติ :

ได้รับมอบจากสำนักวิชาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ทำจากงาช้าง เป็นเสมือนป้ายกำกับชื่อกฎหมายตราสามดวงแต่ละเล่ม

สถานที่เก็บ : ห้องจัดแสดง

วันที่บันทึก : 27/04/2565

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :

ตราประทับงาช้างศาลเมืองสายบุรีและศาลเมืองเลย

เลขที่วัตถุ : 50-53/2547

เลขลำดับ : 50-53

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : เป็นตราประทับสำหรับราชการศาล เพื่อแสดงความเป้นเจ้าของหรือผู้มีอำนาจ ทำด้วยงาช้างและมีการแกะสลักที่ตราประทับและด้าม

สภาพ : ดี

ชนิด : งาช้าง

ขนาด : ก.5.5xส7ซม.

ประวัติ :

ตราประทับศาลเมืองเลย ได้ริบมอบจากศาลเมืองเลย  / ตราประทับงานช้างเมืองสายบุรี ได้รับมอบจากสำนักงานศาลยุติธรรมประจำภาค 9   ซึ่งเป็นตราประทับที่มีขนาดเล็กที่สุด กว้าง 2 สูง 3 ซม. 

สถานที่เก็บ : ห้องจัดแสดง

วันที่บันทึก : 15/11/2565

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :

ตราประทับวันที่

เลขที่วัตถุ : 54/2547

เลขลำดับ : 54

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : ด้ามทำด้วยไม้ ตราประทับทำด้วยทองเหลืองมีตัวเลขสำหรับเปลี่ยนวันที่ และมีตัวอักษรเปลี่ยนเดือน ตรงด้านล่างของตราประทับถอดออกได้มีกล่องไม้ใส่เป็นชุด

สภาพ : ดี

ชนิด : ไม้

ขนาด : ก.14ย.19ส.6 ซม

ประวัติ :

กระทรวงยุติธรรมมอบให้ไว้ใช้งานประจำศาล ตราประจำวันนี้ผู้พิพากษาใช้ประทับลงบนแสตมป์ฤชากรที่ใช้ชำระค่าธรรมเนียมศาล
เริ่มใช้งานเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2505 ศาลจังหวัดศรีสะเกษมอบให้

สถานที่เก็บ : ห้องจัดแสดง

วันที่บันทึก : 15/11/2565

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :

เกรียงก่อวางศิลาฤกษ์อาคารที่ทำการศาลและกระทรวงยุติธรรม

เลขที่วัตถุ : 92/2547

เลขลำดับ : 92

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : ทำจากเงิน ด้ามถมเงินมีลายกนกตรงด้ามจับ ตรงกลางด้ามมีรูปพระสงขรรค์และตราชูแขวนไว้ทั้ง 2 ข้าง จารึกข้อความบนเกรียง

สภาพ : ดี

ชนิด : โลหะ

ขนาด : ก.6 x ย.27 ซม.

ประวัติ :

เกรียงก่อวางศิลาฤกษ์อาคารที่ทำการศาลและกระทรวงยุติธรรม (นายสมศักดิ์ แย้มผล  รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมนำมามอบให้)

สถานที่เก็บ : ห้องมั่นคง อาคารศาลอาญา

วันที่บันทึก : 15/11/2565

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :

เครื่อพิมพ์ดีดแบบไทยปัตตะโชติ

เลขที่วัตถุ : 90/2547

เลขลำดับ : 90

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : เครื่องพิมพ์ดีดีทรงสี่เหลี่ยม ทำด้วยโลหะมีแป้นพิมพ์อักษรไทยและตัวเลข จำนวน 86 ตัว สีเขียนอมดำ เป็นเครื่องพิมพ์ดีดแบบปัตตะโชติ

สภาพ : พอใช้

ชนิด : โลหะ

ขนาด : ก.27ย.37ส.25.5 ซม

ประวัติ :

เครื่องพิมพ์ดีดเป็นเครื่องใช้สำนักงานที่ทันสมัยที่สุดชิ้นหนึ่งในยุคนั้น ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5   แป้นพิมพ์ไทยปัตตะโชติ (Thai Pattachote)  โดยแป้นพิมพ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นแป้นพิมพ์ 7 แถว แถวละ 12 ตัว ไม่มีปุ่มยกแคร่ หรือปุ่ม Shift เนื่องจากเป็นแป้นพิมพ์ชนิดแคร่ตาย (แคร่ไม่เลื่อน) และแป้นพิมพ์ดังกล่าวไม่สามารถใช้วิธีพิมพ์สัมผัส (Touch Typing) ได้ แป้นพิมพ์ชนิดนี้ตั้งชื่อตามนามสกุลของ นายสฤษดิ์ ปัตตะโชติ ผู้ออกแบบและคิดค้นเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถพิมพ์ได้เร็วขึ้น (ศาลจังหวัดขอนแก่นมอบให้)

สถานที่เก็บ : ห้องจำลองการพิจารณาคดี

วันที่บันทึก : 14/02/2566

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :

กรงคัดสำนวน

เลขที่วัตถุ : 101/2547

เลขลำดับ : 101

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : เป็นกรงไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้านข้างล้อมด้วยเส้นลวดสานเป็นตารางไขว้แบบรังผึ้ง มีไม้ด้ามเรี่ยวยาว 2 อัน สอดคู่อยู่ด้านหน้าของกรง ด้านหลังมีประตูกรงเปิดและมีกุญแจล็อค

สภาพ : ดี

ชนิด : ไม้

ขนาด : ก.60ย.46ส.30 ซม

ประวัติ :

กรงคัดสำนวนใช้สำหรับใส่สำนวนที่คู่ความขอคัดถ้อยคำหรือเอกสารที่อยู่ในสำนวน โดยการนำสำนวนใส่ไว้ในกรง คู่ความที่ขอตรวจหรือคัดจะใช้ไม้เขี่ยเปิดดูสำนวนทีละหน้า เพื่อป้องกันสำนวนหรือเอกสารที่อู่ในสำนวนสูญหาย

สถานที่เก็บ : ห้องจัดแสดง

วันที่บันทึก : 15/11/2565

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :

รางวัลสังข์เงิน

เลขที่วัตถุ : 1/2562

เลขลำดับ : 899

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : ฐานของรางวัลเป็นทรงกระบอกทำด้วยโลหะสีดำ หุ้มด้วยแผ่นทองพร้อมชือผู้รับรางวัล สูงขึ้นมาจากฐานเป็นรูปดอกบัวสีทองเพื่อรองรับสังข์ที่ทำโลหะเงิน ขนาดของสังข์กว้าง 18 เซนติเมตร

สภาพ : ดี

ชนิด : โลหะ

ขนาด : ก.18 x ส. 19.5ซม.

ประวัติ :

นายโสภณ รัตนากร  ประธานศาลฎีกา ได้รับรางวัล "สังข์เงิน" ในสาขาบริการประชาชน ประจำปี 2526 ขณะที่ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม
รางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ “สังข์เงิน” เป็นรางวัลที่สมาคมนักประชาสัมพันธ์จัดทำขึ้น เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติหน่วยงาน โครงการ และบุคคล ที่ได้ให้ความสำคัญของการประชาสัมพันธ์ และสามารถนำมาใช้ในกิจการและทำประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติและมีผลงานด้านการประชาสัมพันธ์เป็นที่ประจักษ์ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1-2 ปี

สถานที่เก็บ : ห้องจัดแสดง

วันที่บันทึก : 15/11/2565

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :

รัฐธรรมนูญ ฉบับ 2475

เลขที่วัตถุ : 14

เลขลำดับ :

แบบศิลป์ :

ลักษณะ :

สภาพ :

ชนิด :

ขนาด :

ประวัติ :

สถานที่เก็บ :

วันที่บันทึก : //543

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :

ครุฑ

เลขที่วัตถุ : 143/2547

เลขลำดับ : 143

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : ครุฑทำด้วยปูน ตาจมูก ปาก เท้า มีสีทอง ลำตัวสีแดง ปีกขาและหางสีขาว เครื่องทรงสีทอง ด้านล่างมีข้อความ พระพุทธศักราช 2471

สภาพ : ดี

ชนิด : ปูน

ขนาด : ก71 ส.82ซม.

ประวัติ :

คนไทยถือว่าครุฑเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่มีความหมายเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะไทยได้รับอิทธิพลด้านศาสนามาจากประเทศอินเดีที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ คือ อวตารของพระนารายณ์ ครุฑเป็นสัตว์ที่มีฤทธิ์มากและเป็นพาหนะของพระนารายณ์ จึงเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ ดังที่ได้ปรากฏอยู่ในดวงตราหรือพระราชลัญจกรประจำองค์ ประจำรัชกาล ประจำแผ่นดิน
หมายเหตุ : ศาลฎีกามอบให้

สถานที่เก็บ : ห้องจัดแสดง

วันที่บันทึก : 15/11/2565

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :

พระราชอาสน์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

เลขที่วัตถุ : 34/2557

เลขลำดับ : 782

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : พระราชอาสน์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โครงพระอาสน์ทำด้วยไม้ พนักพิงทำด้วยหนังสีเขียวตอกมุดเงิน ด้านบนของพนักพิงแกะสลักด้วยไม้เป็นรูปกนกสีทองตรงกลาง

สภาพ : ดี

ชนิด : ไม้และหนัง

ขนาด : ก.5.5xย.50xส.153 ซม.

ประวัติ :

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงประทับพระราชอาสน์บนบัลลังก์ ห้องพิจารณาหมายเลขที่ 12 ศาลอาญา ทอดพระเนตรฟังการพิจารณาคดีอาญา เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2495    (ได้รับมอบจากงานพัสดุศาลอาญา)

                

สถานที่เก็บ : ห้องจัดแสดง

วันที่บันทึก : 12/01/2566

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :

ชุดครุยประธานศาลฏีกา คนที่ 46 (นางเมทินี ชโลธร )

เลขที่วัตถุ : 1/2564

เลขลำดับ : 900

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : เป็นเสื้อครุยทำด้วยผ้าสีดำยาวเหนือข้อเท้าพอประมาณ หลังจีบ ตัวเสื้อผ่าอกตลอดติดซิบมีแถบกำมะหยี่สีดำกว้าง 6.5 เซนติเมตร ตลอดด้านหน้าทั้งสองข้าง และโอบรอบคอแขนเสื้อจีบปลายบานยาวระดับศอก มีตราติดที่หน้าอกด้านซ้าย ลักษณะของตราเป็นโลหะวงกลมฉลุสีทอง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 เซนติเมตร ด้านบนของตรามีตราดุลย์ตั้งอยู่บนพานสองชั้นโดยมีฐานรองรับ ด้านล่าง ของตรามีครุฑจับนาคซ้อนทับอยู่บนฐานรองรับ ด้านซ้ายและขวาของตรามีลายดอกบัวตูม ด้านละ 4 ดอก โอบล้อมด้านข้างของขอบวงกลม

สภาพ : ดี

ชนิด : ผ้า

ขนาด :

ประวัติ :

ปี 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระบรมราชโองการฯ ให้ ประกาศใช้พระราชบัญญัติเสื้อครุยข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม พุทธศักราช 2 534 โดย ก าหนดให้มีเสื้อครุยข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรมขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงฐานะ ของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม เหตุผลที่ได้มีการตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น เกิดจากในอดีตได้มี กฎหมายก าหนดให้ผู้พิพากษาหรือข้าราชการตุลาการทุกชั้นที่เป็นเนติบัณฑิตสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิตในเวลา ขึ้นบัลลังก์พิจารณาพิพากษาคดี แต่หาได้มีกฎหมายกำหนดให้มีเสื้อครุยข้าราชการตุลาการโดยเฉพาะ และ กำหนดให้ข้าราชการตุลาการสวมเสื้อครุยดังกล่าวในเวลาขึ้นบัลลังก์พิจารณาพิพากษาคดีไม่ และโดยที่ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีในพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับข้าราชการตุลาการ แต่ก็ยังไม่มีกฎหมายกำหนด ให้มีเสื้อครุยดะโต๊ะยุติธรรม และกำหนดให้ ดะโต๊ะยุติธรรมสวมเสื้อครุยดังกล่าว ในเวลาขึ้นบัลลังก์พิจารณาพิพากษาคดี สมควรกำหนดให้มีกฎหมาย กำหนดให้มีเสื้อครุยข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม และกำหนดให้ข้าราชการตุลาการและ ดะโต๊ะยุติธรรมสวมเสื้อครุยดังกล่าวในเวลาขึ้นบัลลังก์พิจารณาพิพากษาคดี จึงจ ำป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ : เมื่อวันที่  19 พฤศจิกายน 2564 นายภพ เอครพานิช รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรมรับมอบเสื้อครุยตุลาการศาลยุติธรรมประจำตัวของนางเมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกาคนที่ 46 และเป็นประธานศาลฎีกาหญิงท่านแรกของ ศาลยุติธรรม เพื่อเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ ณ พิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ

สถานที่เก็บ : ห้องจัดแสดง

วันที่บันทึก : 15/11/2565

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :

ชุดครุยผู้พิพากษา

เลขที่วัตถุ : 1/2557

เลขลำดับ : 749

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : ชุดครุยผู้พิพากษา ทำด้วยผ้าโปร่งสีขาว มีสำรดติดขอบรอบต้นแขน ปลายแขนสำรดใช้ต่วนสีขาวทาบแถบทองขนาด 1 เซนติเมตร 3 แถบ 5 มิลลิเมตร 4 แถบ

สภาพ : พอใช้

ชนิด : ผ้า

ขนาด : ก.50x ย.100 ซม.

ประวัติ :

เสื้อครุยนักกฎมาย เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยเมือ ร.ศ.116 (พ.ศ. 2440) ในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองศ์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงเป้นผู้สอนวิชากฎหมายและจัดให้มีการสอบไล่วิชากฎหมายเป็นครั้งแรกในโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม เมื่อมีผู้สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตจึงจะมีสิทธิสวมเสื้อครุยที่ทำด้วยผ้าหรือเสิร์จสีดำ  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6  พ.ศ. 2457 ชุดครุยได้เปลี่ยนเป็นผ้าโปร่งสีขาวเพื่อเป็นเกียรติยศแก่ผุ้ที่สอบไล่วิชากฎหมายชั้นเนติบัณฑิต จนถึง พ.ศ. 2468 
 

สถานที่เก็บ : ห้องจัดแสดง

วันที่บันทึก : 15/11/2565

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :

ชุดครุยผู้พิพากษา

เลขที่วัตถุ : 83/2547

เลขลำดับ : 83

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : เสื้อครุยแบบทำด้วยผ้าหรือเสิร์จสีดำ เย็บเป็นเสื้อครุยหลังจีบยาวเหนือข้อเท้าพอประมาณ มีแถบพื้นขาวลายทองพาดบ่าซ้าย

สภาพ : ดี

ชนิด : ผ้า

ขนาด :

ประวัติ :

ปี 2479 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ มีพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติเสื้อครุยเนติบัณฑิต พุทธศักราช 2479 และได้ยกเลิกเสื้อครุยเนติบัณฑิตอย่างแบบไทยให้ใช้เสื้อครุยแบบใหม่ทำด้วยผ้าหรือเสิร์จสีดำ เย็บเป็นเสื้อครุยหลังจีบยาว เหนือข้อเท้าพอประมาณ (คล้ายเสื้อดำแบบเดิมสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์)

สถานที่เก็บ : ห้องจัดแสดง

วันที่บันทึก : 15/11/2565

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :

ชุดครุยโบราณ

เลขที่วัตถุ : 600/2547

เลขลำดับ : 600

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : เสื้อครุย มีลักษณะเป็นเสื้อตัวยาว แขนกว้าง ผ่าอกตลอด พื้นกรองทอง ลวดลายที่ประดับบนเสื้อเป็นลายพรรณพฤกษา ซึ่งเป็นผ้าที่ถักด้วยแล่งเงินหรือแล่งทองต่อกันเป็นผืนโดยปักด้วยดิ้นเงินดิ้นทอง เลื่อมเงินเลื่อมทอง

สภาพ : ดี

ชนิด : ผ้า

ขนาด :

ประวัติ :

"เสื้อครุย" เป็นเสื้อที่ใช้สวมหรือคลุมแบบเต็มยศในงานพระราชพิธีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อประกอบเกียรติยศ แสดงบรรดาศักดิ์และตำแหน่งของผู้สวมใส่ ธรรมเนียมการใช้เสื้อครุยมีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา   
หมายเหตุ :  นายสุรพล เฮ้งเจริญ มอบให้

สถานที่เก็บ : ห้องจัดแสดง

วันที่บันทึก : 15/11/2565

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :

หน่วยงานภายนอก

แหล่งการเรียนรู้

Copyright 2020 © All Rights Reserved