-
อนุสาวรีย์พระรูปกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
อนุสาวรีย์พระรูปกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ตั้งอยู่ ณ บริเวณสนามหน้าอาคารศาลยุติธรรม เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้นักกฎหมายไทยทั้งหลายได้ระลึกถึงพระเดชพระคุณและผลงานของพระองค์ที่มีต่อวงการศาลและกฎหมายไทย
-
แสตมป์ฤชากร และตราประจำวัน
ในอดีตการชำระค่าธรรมเนียมศาลนั้น ต้องใช้วิธีนำแสตมป์ฤชากรมาปิดในคำคู่ความ คำร้อง ใบรับหรือเอกสารอื่นๆ และผู้พิพากษาจะใช้ ตราประจำวัน ประทับลงบนแสตมป์ฤชากรนั้น แล้วลงชื่อฆ่าแสตมป์ฤชากรดังกล่าวด้วย
-
กลองวินิจฉัยเภรี
ตีกลองร้องฎีกา "กลองวินิจฉัยเภรี"
-
การใช้ชื่อวันเดือนปีที่นิยมใช้ในกฎหมายเก่า
ในปี พ.ศ.๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศใช้ปฏิทินแบบใหม่ตามสุริยคติ โดยกําหนดขึ้นปีใหม่ในเดือนเมษายน (เดือน ๔ ทางสุริยคติแต่เป็นเดือน ๕ ทางจันทรคติ) ใช้มาจนถึง พ.ศ.๒๔๘๓ ในหนึ่่งปีจะมี ๑๒ เดือน
-
การตั้งอธิบดีผู้พิพากษาศาลพระราชอาญา
การแต่งตั้งขุนหลวงพระไกรสี เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลพระราชอาญา
-
การประหารชีวิตนักโทษด้วยดาบในสมัยโบราณ
การประหารชีวิตนักโทษด้วยดาบในสมัยโบราณ กระทำด้วยวิธีการตัดคอโดยเพชฒฆาตที่ลานประหาร เมื่อนักโทษเสียชีวิตแล้วศีรษะของนักโทษจะถูกนำมาเสียบประจานอยู่ที่ตะแลงแกง
-
คนสัปเยก
“คนสัปเยก” มีชื่อตามภาษาอังกฤษว่า Subject หมายถึง คนในบังคับ เป็นคําเรียกกลุ่มคนที่ได้รับสิทธิพิเศษ เนื่องมาจากการทําหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีระหว่างกรุงสยามกับต่างประเทศ ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๙๘-๒๔๘๑
-
ครุฑ
ครุฑ เป็นสัตว์หิมพานต์ เป็นพญานกที่มีรูปครึ่งมนุษย์ครึ่งนก เป็นเทพพาหนะของพระวิษณุ มักจะพบเห็นครุฑที่ใช้ เป็นสัญลักษณ์ประดับอยู่ตามที่ต่าง ๆ เช่น สถานที่ราชการ ธนาคาร ห้างร้านบางแห่ง บนธนบัตรหรือธง เป็นต้น คนไทยถือว่าครุฑเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่มีความหมายเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ
-
กฎหมายตราสามดวง
กฎหมายตราสามดวง เป็นประมวลกฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการชำระกฎหมายเก่าที่มีมาแต่โบราณ แล้วรวบรวมเป็นประมวลกฎหมายขึ้น เมื่อจุลศักราช ๑๑๖๖ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๔๗
-
การออกโฉนดที่ดินในประเทศไทย
การเดินสำรวจหมายเขตที่ดินเพื่อออกโฉนดที่ดินในประเทศไทยตามประวัติกล่าวว่าเริ่มต้นครั้งแรกในปี ร.ศ.๑๑๑ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
-
ตราดุลพาห
ตราดุลพาห เป็นพระราชลัญจกรประจำชาดสำหรับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
-
ตราแผ่นดิน
ตราแผ่นดินหรืออาร์มแผ่นดิน หมายถึง ตราประจำประเทศ
-
สมุดไทยและฉลากงา
สมุดไทย เป็นหนังสือของไทยโบราณที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เป็นหนังสือที่ใช้กระดาษยาวติดต่อกัน แผ่นเดียวพับกลับไปกลับมาเป็นเล่ม ใช้ร่วมกับฉลาก คือ ป้ายบอกชื่อสมุดไทยหรือคัมภีร์เสียบไว้ที่ด้านหน้า
-
ธรรมสาตรสมัย
ธรรมสาตรสมัย เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของกระทรวงยุติธรรม ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) มีกำหนดออกเป็นรายปักษ์คือ เดือนละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๑๖ และวันที่ ๓๐ หรือ ๓๑ ของทุกเดือน ราคาจำหน่ายปีละ ๑๒ บาท
-
ราชกิจจานุเบกษา
ราชกิจจานุเบกษา เป็นเอกสารที่มีความสำคัญ บรรดาพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และข้อบังคับต่าง ๆ ของหน่วยราชการที่ต้องการให้มีผลบังคับใช้แก่ประชาชนหรือต้องการให้ประชาชนได้ทราบข่าวสารที่สำคัญ จะต้องมีการประกาศแจ้งในราชกิจจานุเบกษา
-
ศาลเมืองกรุงเก่า
ศาลเมืองกรุงเก่า เป็นหมู่อาคารตั้งอยู่กลางพระราชวังจันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เพื่อใช้เป็นที่ประทับ สร้างเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมประยุกต์เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน พื้นไม้หลังคามุงกระเบื้อง ใต้ถุนสูงก่ออิฐเป็นหลัง ๆ อาคารชุดนี้ ประกอบด้วยอาคารใหญ่ ๒ หลัง ขยายต่อกัน เรียกว่า พระที่นั่งพิมานรัตยา
-
ประมวลโทรเลขลับ
ศาลยุติธรรม ได้ใช้โทรเลขเป็นเครื่องมือสื่อสารในการติดต่อราชการ เพราะในสมัยนั้นโทรเลขจัดว่าเป็นการสื่อสารที่สำคัญ รวดเร็ว สะดวกที่สุด และราคาไม่สูงนัก ต่อมาได้จัดทำหนังสือประมวลโทรเลขลับ สำหรับกระทรวงยุติธรรมขึ้นเป็นครั้งแรกสำหรับการรับ - การส่งข้อความของทางราชการโดยกำหนดรหัสตัวเลขขึ้นมาจำนวน ๕ หลัก และแบ่งเป็นหมวดเรียงตาม ตัวพยัญชนะอักษร ก - ฮ
-
เนติบัณฑิตยสภา
เนติบัณฑิตยสภา อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อบำรุงการศึกษากฎหมาย ฝึกอบรมให้มีความเชี่ยวชาญในการว่าความ ควบคุมดูแลมรรยาทของทนายความ โดยมีอำนาจพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตว่าความของทนายความที่ประพฤติตนไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติทนายความ อันเป็นการยกมาตรฐานวิชาชีพ กฎหมายให้ได้รับการยกย่องจากประชาชน
-
โรงเรียนกฎหมาย
การสถาปนาโรงเรียนกฎหมายเกิดขึ้นเนื่องมาจากความต้องการที่จะยกเลิกศาลกงสุลและขจัดสิทธิสภาพนอกอาณาเขต เพื่อให้ประเทศไทยได้มีเอกราชทางการศาลอย่างแท้จริง การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลจะสัมฤทธิผลได้ก็ด้วยการสร้างกำลังของคนรุ่นใหม่ที่เป็นนักกฎหมายไทยซึ่งมีความรู้ด้านกฎหมายแบบประเทศทางแถบตะวันตก และมีความรู้ความเข้าใจในระบบกฎหมายและการศาลที่สอดคล้องกับความเป็นประเทศไทยด้วย เพื่อปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษาในระบบการศาลแบบใหม่