ประวัติความเป็นมาพิพิธภัณฑ์ศาลไทย
ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจุบันมีบัญญัติให้แยกศาลยุติธรรมออกจากกระทรวงยุติธรรม ศาลยุติธรรมมีหน่วยงานธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงาน คือสำนักงานศาลยุติธรรม จากการที่ศาลและกระทรวงยุติธรรมแยกออกจากกัน ทำให้ต้องมีการสำรวจและแบ่ง แยกทรัพย์สิน จากการสำรวจพบว่ามีทรัพย์สินประเภทวัตถุโบราณ ภาพวาด ภาพเขียน และเอกสารจดหมายเหตุที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากมาย สมควรที่จะรวบรวม อนุรักษ์และเก็บรักษาให้เป็นสมบัติของชาติศาลยุติธรรมจึงมีคำสั่งให้นายกำพล ภู่สุดแสวง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็นประธานคณะกรรมการตรวจ สอบวัตถุโบราณ ภาพวาด ภาพเขียน และเอกสารจดหมายเหตุ จากการสำรวจได้พบ กฎหมายตราสามดวงฉบับศาลหลวง ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้มีการตรวจชำระขึ้น สำนวนคดีสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็น สำนวนแบบสมุดไทยดำโบราณ มีการใช้เชือกผูกสำนวนและดินเหนียวผนึกตรง เงื่อนไขที่ผูกแล้วให้โจทก์และจำเลยเอาเล็บกดไว้ที่ดินเหนียวเพื่อเป็นหลักฐาน ซึ่งเรียกว่า "หยิกเล็บหมายมือ" หิรัญบัตร ที่แสดงถึงพระราชปรารภในการสร้างอาคารสถิตย์ยุติธรรม รวมทั้งภาพถ่าย โบราณ เช่น ภาพอาคารศาลและบ้านพักผู้พิพากษาในอดีตเอกสารที่เป็นลายพระหัตถ์ฉบับจริงของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และจดหมายเหตุอีกเป็นจำนวนมาก
เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมได้นำความขึ้นกราบเรียนท่านประธานศาลฎีกา เพื่อขอความเห็นชอบจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ ดังนั้น จึง มีคำสั่งแต่งตั้งที่ปรึกษาและคณะกรรมการพิพิธภัณฑ์ศาลไทย โดยมีนายกำพล ภู่สุดแสวง เป็นประธานดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ ขึ้นตามโครงสร้างการบริหารงานราชการของศาลยุติธรรม โดยจัดให้มีฝ่าย พิพิธภัณฑ์และเอกสารจดหมายเหตุ กองวิทยบริการศาลยุติธรรม เป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับความเป็นมาและวิวัฒนาการ ของระบบการศาลไทย วัฒนธรรมทางการศาล ตลอดจนแนวความคิดและจริยธรรม ของบรรพตุลาการไว้เป็นมรดกของชาวศาลยุติธรรมสืบต่อไป การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุได้รับการสนับสนุน จากสำนักงานศาลยุติธรรม และความร่วมมือจากกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม รวมทั้งหน่วยงาน ในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม โดยได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2545
วัตถุประสงค์
- 1. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์ศาลไทย
- 2. เพื่ออนุรักษ์ จัดเก็บ รวบรวมและจัดแสดงศิลปะวัตถุโบราณ ภาพวาด ภาพเขียนและเอกสารจดหมายเหตุอันเป็นหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับศาลยุติธรรมไทย
- 3. เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า และทัศนศึกษาสำหรับนักเรียน นักศึกษา ข้าราชการและผู้ที่สนใจทั้งชาวไทยและชาวต่าง ประเทศการจัดแสดง
ปัจจุบันการจัดแสดงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
- 1. พิพิธภัณฑ์ศาลไทย การจัดแสดงจะแบ่งออกเป็นยุคสมัยโดยเริ่มจากสมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ และในแต่ละยุคสมัยจะนำวัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพเขียน และเอกสารที่สำคัญทางด้านประวัติศาสตร์การศาลไทยมาประกอบ นอกจากนั้นยังได้จำลองห้องพิจารณาคดีสมัยโบราณและมี Light and Sound ประกอบคำบรรยายเรื่องคดีพระยอดเมืองขวางให้ได้ชมพร้อมทั้งยังได้จำลองห้องทำงานของผู้พิพากษาสมัยโบราณไว้อีกด้วย
- 2. หอจดหมายเหตุ มีการจัดแสดงพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประวัติบรรพตุลาการที่เป็นปูชนียบุคคลเอกสารจด หมายเหตุที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การศาลไทยหนังสือเก่าที่หายาก ตลอดจนสิ่งของ เครื่องใช้ และวัสดุครุภัณฑ์โบราณ ที่ทรงคุณค่า