-
กลองวินิจฉัยเภรี
กลองวินิจฉัยเภรี สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ได้ทํา กลองขนาดใหญ่ ทําด้วยไม่รักขัดมัน มี เส้นผ่าศูนย์กลาง 62 เซนติเมตร สูง 136 เซนติเมตร หน้ากลองขึงด้วยหนังควายเผือกเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งที่เป็นเจ้าพระยาพระคลัง ออกไปบูรณะเมืองจันทบุรีใน พ.ศ. 2380
-
การใช้ชื่อวันเดือนปีที่นิยมใช้ในกฎหมายเก่า
ในสมัยโบราณการนับวันเดือนปีถือการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลัก เรียกว่า จันทรคติ ปีจันทรคติปกติมี 354 วัน ปีมีอธิกวารมี 355 วัน ถ้าเป็นปีอธิกมาศ (เดือนแปดสองหน) จะมี 384 วัน เพื่อชดเชยวันที่ขาดหายไป ต่อมาจึงมีวิธีนับวันเดือนปีตามการหมุนเวียนของโลก รอบดวงอาทิตย์เรียกว่า สุริยคติ ระยะเวลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์รอบหนึ่งปกติประมาณ 365 วัน 5 ชั่วโมง 49 นาทีปีสุริยคติกับจันทรคติจึงผิดกันอยู่ปีละประมาณ 10 – 11 วันเศษ
-
การตั้งอธิบดีผู้พิพากษาศาลพระราชอาญา
เมื่อวันที่ 5 เมษายน ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) เวลาเช้า 4 โมง พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์ เจ้าระพีพัฒนศักดิ์เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยอธิบดีผู้พิพากษา แลผู้พิพากษาทั้งปวง กับพวกเนติบัณฑิตย์ในกรมอัยการ และข้าราชการเจ้าพนักงานทั้งหลายในกระทรวงยุติธรรม ประชุมในศาลพระราชอาญา
-
การประหารชีวิตนักโทษด้วยดาบในสมัยโบราณ
การประหารชีวิตนักโทษด้วยดาบในสมัยโบราณ นักโทษจะถูกควบคุมตัวออกจากคุกโดย มีทหารและพะทํามะรงเป็นผู้ควบคุมตัวออกมาอย่างเข้มแข็งเพื่อป้องกันการแย่งตัวนักโทษ แล้วนํามาที่ลานประหารโดยมากจะทําการประหารในช่วงเวลาเช้า ขบวนนักโทษจะมาหยุดอยู่ที่บริเวณ ตะแลงแกง ซึ่งมีลักษณะเป็นลานกว้าง มีเสาไม้ไผ่ผูกธงแดง ยาวประมาณ 23 นิ้ว ซึ่งเป็น สัญลักษณ์ของลานประหาร ในบริเวณลานประหารมีศาลาชั่วคราว สร้างขึ้นสําหรับเจ้าหน้าที่ ควบคุมการประหาร นักโทษประหารจะได้รับการฟังเทศน์จากพระสงฆ์และรับประทานอาหารคาว หวานเป็นมื้อสุดท้าย
-
คนสัปเยก
“คนสัปเยก” มีชื่อตามภาษาอังกฤษวา Subject หมายถึง คนในบังคับ เปนคําเรียกกลุม คนที่ไดรับสิทธิพิเศษ เนื่องมาจากการทําหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีระหวางกรุงสยามกับ ตางประเทศ ระหวาง พ.ศ. 2398 – 2481 คําว่า สัปเยกนี้เดิมหมายถึง พลเมืองของประเทศที่ทํา สัญญากับกรุงสยาม ต่อมาเมื่อประเทศมหาอํานาจตะวันตกได้แผ่อิทธิพลเข้ามาครอบครอง ดินแดนบางส่วนในแถบทวีปเอเชีย คําว่า คนสัปเยก หรือคนในบังคับก็ได้กินความไปถึงคนใน อาณานิคมและรัฐอารักขาของชาตินั้น ๆ