มิติใหม่แห่งการเดินชมพิพิธภัณฑ์ 

เปิดประสบการณ์ใหม่ในการเดินชมพิพิธภัณฑ์
ให้คุณเห็นภายในอาคารได้ 360 องศา

Virtual Tour

หิรัญบัตร

เลขที่วัตถุ : 43/2547

เลขลำดับ : 43

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : แผ่นเงินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จำนวน 4 แผ่น บนแผ่นเงินมีการจารอักษรภาษาไทย ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีรูเจาะตรงกลางสำหรับร้อยเชือกคล้ายคัมภีร์ใบลาน หิรัญบัตรแผ่นที่ 1 จารึกนามศาลสถิตยยุติธรรม แผ่นที่ 2,3และ4 จารึกวัน เดือน ปี ที่เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาก่อพระฤกษ์ และเรื่องที่ทรงพระราชดำริห์ในการสร้างศาลหลวง

สภาพ : ดี

ชนิด : เงิน

ขนาด : ก.9.5 x ย.37.2 ซม.

ประวัติ :

หิรัญบัตรเป็นแผ่นเงินที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจารข้อความลงบนแผ่นเงิน จำนวน 4 แผ่น เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทรงวางศิลาก่อพระฤกษ์อาคารศาล และพระราชทานนามอาคารหลังนี้ว่า "ศาลสถิตยยติธรรม " เมื่อวันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2425

สถานที่เก็บ : ห้องจัดแสดง

วันที่บันทึก : 2023-02-14

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :
เอกสารแนบ :

กฎหมายตราสามดวง (พระไอยการลักษณโจร,พระธรรมสาตร, พิสูทดำน้ำ ลุยเพลิง,กฎมณเฑียรบาล)

เลขที่วัตถุ : 4-8/2547

เลขลำดับ : 4-8

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : สมุดไทยขาว ทำจากกระดาษข่อย ปกหน้า-หลัง ลงรักสีดำ เขียนข้อความหน้าปกด้วยด้ายเส้นทอง ภายในตัวเล่มเป็นกระดาษสีขาว บันทึกด้วยหมึกสีดำ มีตราประทับ 3 ดวงด้านปกใน มีตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ ตราบัวแก้ว

สภาพ : พอใช้

ชนิด : กระดาษ

ขนาด : ก.15 x ย.60 ซม.

ประวัติ :

ได้รับมอบจากสำนักวิชาการ สำนักงานศาลยุติธรรมซึ่งเป็นต้นฉบับที่เก้บรักษามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ทรงโปรดให้มีการตรวจชำระกฎหมายขึ้น เป็นฉบับที่ศาลหลวงได้เก้บรักษาไว้

สถานที่เก็บ : ห้องจัดแสดง

วันที่บันทึก : 2022-11-15

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :
เอกสารแนบ :

หยิกเล็บหมายมือ

เลขที่วัตถุ : 26/2547

เลขลำดับ : 26

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : เป็นสมุดไทยดำที่มีการบันทึกคำฟ้อง ด้านบนมีเชือกผูกตรงสำนวนและใช้ดินเหนียวผนึกตรงเงื่อนที่ผูก มีรอยเล็บกดลงบนดินเหนียว

สภาพ : พอใช้

ชนิด : กระดาษ

ขนาด : ก.15 x ย.60 ซม.

ประวัติ :

หยิกเล็บหมายมือได้รับมอบจากสำนักวิชาการ สำนักงานศาลยุติธรรม หยิกเล็บหมายมือเป็นสำนวนคำฟ้องที่ได้บันทึกไว้ เมื่อเสร็จขั้นตอนแล้วจะคัดคำให้การของจำเลยรวมไว้กับคำฟ้องของโจทก์ในสมุดไทย แล้วผูกสมุดคำฟ้องและคำให้การโดยให้โจทก์และจำเลยหยิกเล็บหมายมือไว้ เพื่อเป็นหลักฐาน โดยให้โจทก์ให้เชือก จำเลยให้ดินเหนียว เวลาจะหยิก ให้โจทก์หยิกเล็บหมายมือก่อนแล้วจำเลยหยิกตาม ถ้าจำเลยหยิกก่อนจะถูกปรับ 6400 เบี้ย
 

สถานที่เก็บ : ห้องจัดแสดง

วันที่บันทึก : 2022-11-15

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :

สมุดไทยดำ

เลขที่วัตถุ : 27/2547

เลขลำดับ : 27

แบบศิลป์ : รัตนโกสินทร์

ลักษณะ : เป็นสมุดไทยดำสี่เหลี่ยมผืนผ้า สมุดไทยที่ทำขึ้นจากกระดาษข่อย มีการบันทึกด้วยเส้นดินสอสีขาว

สภาพ : ดี

ชนิด : กระดาษ

ขนาด : ก.13 x ย.65 ซม.

ประวัติ :

ได้รับมอบสมุดไทยดำจากสำนักวิชาการ สำนักงานศาลยุติธรรม

สถานที่เก็บ : ห้องจัดแสดง

วันที่บันทึก : 2022-11-15

คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :

การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ

การจัดแสดงวัตถุโบราณที่สามารถปรับเปลี่ยน มุมมองการเคลื่อนที่ได้ 360 องศา ในแนวระนาบทางด้านซ้ายและด้านขวา

การขอเข้าชมพิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ

พิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุเปิดให้เข้าชมตั้งแต่ เวลา 09.00 - 16.30 นาฬิกา ในวันเวลาราชการ โดยไม่เก็บค่าเข้าชม
หากประสงค์เข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์ โดยทำหนังสือขออนุญาตเข้าชมพิพิธภัณฑ์ศาลไทย
และหอจดหมายเหตุถึงผู้อำนวยการศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม

กรอกแบบฟอร์มขออนุญาตเข้าเยี่ยมชม

ข่าวประชาสัมพันธ์

  • ขอเชิญเยี่ยมชมมุมบรรพตุลาการศาลยุติธรรมของศาสตราจารย์บัญญัติ สุชีวะ

    ศาสตราจารย์บัญญัติ สุชีวะ ท่านมีหลัก ในการวางตัวของผู้พิพากษาว่าต้องให้เหมาะสมไม่มากไม่น้อยเกินไป ไม่ทำตัวคล่องหรือเก็บตัวเกินไป ในการพิพากษาคดีก็พิจารณาแต่เฉพาะความเป็นธรรมตามท้องสำนวนเท่านั้น ไม่ควรนำเอาคำขอร้องจากบุคคลมาพิจารณาด้วย

    02 พ.ย. 2566
  • คณะผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้ช่วยผู้พิพากษา รุ่นที่ 78 เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ

    วันที่ 27 ตุลาคม 2566 เวลา 08.30 นาฬิกา นางฐิดารัตน์ นรินทรางกูร ณ อยุธยา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดปทุมธานี ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่ง รองเลขาธิการสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม นำคณะผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้ช่วยผู้พิพากษา รุ่นที่ 78 จำนวน 35 คน เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ

    27 ต.ค. 2566
  • เลขาธิการสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ

    วันพุธที่ 25 ตุลาคม 2566 เวลา 13.00 นาฬิกา นายเกรียงไกร จรรยามั่น รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่ง เลขาธิการสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม เข้าสักการะพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ

    26 ต.ค. 2566
  • นิทรรศการปิยราชันย์รำลึก

    วันที่ 20 ตุลาคม 2566 เวลา 9.30 นาฬิกา นายไกรสร โสมจันทร์ ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกาช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ประจำสำนักประธานศาลฎีกา นางพรนิภา ธนาธรรมนันท์ รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม นายอดิศร อุนรุ่งเรือง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม และหัวหน้ากลุ่มงานในศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม เข้าสักการะพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันปิยมหาราช ณ พิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ ชั้น 5 อาคารสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ คณะผู้บริหารได้เยี่ยมชมนิทรรศการปิยราชันย์รำลึก เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีคุณูปการต่อวงการกฏหมายไทย

    20 ต.ค. 2566

หน่วยงานภายนอก

แหล่งการเรียนรู้

Copyright 2020 © All Rights Reserved